7 มิถุนายน 2560

Published มิถุนายน 07, 2560 by with 0 comment

สรุปหลักภาษาไทย 1


การโต้แย้ง
สังเกต “แต่… มิใช่ ไม่ใช่” และดูใจความสำคัญ
โครงสร้าง ที่มา + ประเด็น + ทรรศนะ + ข้อสนับสนุน

วิธีดูภาษาพูด
1. ใช้คำในชีวิตประจำวัน เช่น เอามา (ทางการคือ นำมา)
2. บุคคลพรรณนา / คำลงท้าย
3. สำนวนไทย / ซ้อน / คำสแดง
ประโยคกำกวน
1. คำกำกวน เช่น นายสิบซ้อมทหารเดิน
2. เว้นวรรค ยานี้กินแล้วแข็งแรงไม่มีโรคภัย
3. เรียงลำดับคำ คำบอกเวลา+บอกสถานที่ถ้าอยู่ท้ายประโยค มักจะกำกวน
4. วลีประโยค คนขนขยะออกจากบ้านเมื่อเช้านี้ , เด็กส่งของออกจากป่าไปแล้ว
5. ละคำเชื่อม เช่น รุ่นใหม่หมด , ส่งคอหมูย่าง เอาไม่มัน

คำสมาส – หลักการ ต้องเป็นคำบาลีสันกฤตเท่านั้น แปลจากหลังมาหน้า

ลักษณะคำยืมภาษาบาลีหรือสันกฤตที่ควรจำ – ไม่ตรงมาตรา ไม่ใช่คำไทย

คำถามเชิงวาทศิลป์ - คำถามไม่ต้องการคำตอบ ใช้เพื่อโน้มน้าวใจ และ กระตุ้นให้เหตุผล

ไวพจน์ - คำที่มีความหมายเหมือนกัน
วาทกรรม - ชุดความคิดที่ถูกสร้างขึ้นและให้สังคมเชื่อ

โวหาร
บรรยาย – ใครทำอะไร ที่ไหน / มีอะไร อยู่ตรงไหน
พรรณนา – เน้นภาพ ความรู้สึก / มีภาษาเปรียบเทียบ ภาษาบอกแสงสีเสียง
อธิบาย – เน้นให้ความรู้แสดงความคิด
สาธก * – ยกตัวอย่างเพื่อสอน
* ถ้ามีการยกตัวอย่าง – สาธก
แต่มีการเปรียบเทียบ – อุปมา
วิธีการเรียงประโยค
  1. หาประโยคขึ้นต้นคำนามตัวหลัก
  2. ดูส่วนหน้าและดูส่วนหลังประโยค
ลักษณะจรรโลงใจ คือ ฟังแล้วสบายใจ
ความหมายของภาษา
1. นัยตรง ตามตัว/เชิงอุปมา
2. นัยประหวัด (กำกวน)

การแสดงทรรศนะ
1. ภาษาที่แสดงความคิดเห็นต่อสิ่งใด เช่น น่าจะ ซึ่งจะ ควรจะ เป็นต้น
2. มีดังนี้
- เชิงนโยบาย – แนวคิด แนวทำ มาตราการ หลักการ
- ข้อเท็จจริง
- เชิงคุณค่า คุณค่า ประโยชน์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น